ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ เด็กหญิง กัญญารัตน์ คงอินทร์ เลขที่ 38 ม.2/2 โรงเรียน พิมานพิทยาสรรค์ ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร

                                    

ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร

     ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรเรียนรู้ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ประกอบด้วยข้าวหรืออาหารแป้งอื่น ๆ เนื้อสัตว์ไม่ติดทัน ไข่ น้ำนมพร่องมันเนย ผักทั้งสีเขียวและสีเหลือง ผลไม้ที่หวานน้อยในปริมาณที่แนะนำ สำหรับไขมันควรเลือกน้ำมันพืช จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการผัดแทนการทอดเลี่ยงการใช้ไขมันอิ่มตัวเป็นประจำ เช่น น้ำมันหมู กะทิ เนย ฯลฯ 

     อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด

     ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด



     ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ควรเหมาะกับน้ำหนักตัว และแรงงานที่ใช้ เช่น หญิงที่น้ำหนักตัวปกติและทำงานเบารับประทานข้าวได้มื้อละ 2 – 3 ทัพพีเล็ก ชายที่ไม่อ้วนทำงานเบาถึงปานกลาง รับประทานข้าวได้มื้อละ 3 – 4 ทัพพีเล็ก

ข้าว 1 ทัพพีเล็ก = ขนมปังปอน 1 แผ่น
หรือ             = ก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพี
                  = ขนมจีน 1 ทัพพี

     *ทัพพีเล็ก หมายถึง ทัพพีในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตักพูนพอควร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรใช้แนวทางการเลือกอาหารที่แนะนำไว้ และก่อนรับประทาน

     อาหาร ควรสำรวจรายการอาหารก่อน ถ้าเป็นอาหารบุพเฟ่ซึ่งมีอาหารหลากหลายควรดูให้ทั่ว และวางแผนการรับประทานอาหารในมื้อนั้นควรตักข้าวในปริมาณที่เคยรับประทาน ถ้าต้องการรับประทานทั้งข้าวและขนมปัง หรือแป้งชนิดอื่นด้วย ควรลดปริมาณแต่ละอย่างลง เลือกกับข้าวที่มีไขมันน้อยและมีผักมาก เช่น ต้ม ย่าง ยำ และผัด เนื้อสัตว์ตัดส่วนที่ติดมันและหนังออก เลี่ยงน้ำจิ้มที่มีรสหวาน หรือจิ้มแต่น้อย

     ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจรับประทานขนมได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ควรเลือกขนมที่หวานน้อย และต้องวางแผนลดข้าว อาหารที่มีไขมัน รวมทั้งงดผลไม้ในมื้อนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น ถ้ารับประทานเค้ก 1 ชิ้นเล็ก (ขนาด 1 x 1 นิ้ว) หรือถ้าขนมที่มีน้ำเชื่อม เช่น ซาหริ่ม ทับทิมกรอบ ให้ตักเพียงครึ่งถ้วย และลดข้าวลงประมาณ 1 ทัพพีจากที่เคยรับประทานไม่ควรงดข้าวและรับประทานแต่ขนมเพราะจะทำให้ไม่สามารถควบคุมรับน้ำตาลในเลือดได้และไม่ควรรับประทานขนมที่หวานจัดมาก เช่น ขนมเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา การรับประทานขนมหวานนี้ ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานแต่น้อย พอคลายความ อยากเท่านั้น และไม่ควรทำบ่อย อาจทำในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเท่านั้น สำหรับเครื่องดื่ม ควรเลือกน้ำเปล่าหรือโซดาแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากจะดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว และดื่มแต่เพียงเล็กน้อย เช่น เบียร์หรือไวน์ ไม่เกิน 2 แก้ว ถาเป็นวิสกี้เจือจาง (45 มิลลิลิตร) ไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับผู้ที่ยังติดรสหวาน อาจใช้น้ำตาลเทียม ซึ่งให้รสหวาน แต่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดเพิ่ม

ผู้ที่อ้วนและมีระดับไขมันในเลือดสูงควรรับประทานอย่างไร 

ผู้ที่อ้วนและมีระดับไขมันในเลือดสูงควรเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอล เช่น เครื่องในสัตว์ 

     เนื้อติดมัน หนังเป็ดไก่ ไข่แดง รวมทั้งอาหารใส่กะทิ และเลี่ยงอาหารทอดและผัดที่มีน้ำมันมากควรเลือกรับประทานเนื้อไม่ติดมัน ปลา เต้าหู้ และทำโดยวิธีนึ่ง ต้ม ปิ้ง หรือย่าง ยำที่มีผักมาก และผัดที่ใช้น้ำมันน้อย รับประทานผักสีเขียวให้มากขึ้น เลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย แทนขนมหวาน และเลี่ยงผลไม้ที่มีแต่รสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลำไย ขนุน น้อยหน่า ฯลฯ ผู้ที่อ้วนควรลดปริมาณอาหารจำพวกข้าว ก๋วยเตี๋ยว และอาหารที่มีไขมันลง แต่ไม่ควรงดมื้ออาหาร

ถึงแม้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะรับประทานอาหารได้ทุกอย่างในปัจจุบัน แต่การที่จะควบคุม

     ระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องเรียนรู้ปริมาณและชนิดอาหารที่ได้รับรู้จักแลกเปลี่ยนอาหาร อ่านข้อมูลในฉลกาโภชนาการ ซึ่งจะบอกปริมาณพลังงานคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน จะช่วยให้ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต และไขมันในอาหารได้ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวได้ดีขึ้น

     สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เป็นโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ คือ การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้องไม่งดมื้ออาหาร แลรับประทานอาหารมื้อหลักและมื้อว่างให้ตรงเวลาหรือเวลาใกล้เคียงกันทุกวัน การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมทั้งการรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดหรือฉีดยาตามที่แพทย์สั่งจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และมีคุณภาพชีวอตที่ดีได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป

อาหารที่ควรงด

1. แฮมเบอร์เกอร์  จัดเป็นอาหารประเภทที่  “มีความเสี่ยงสูง” เพราะเวลาที่สูญเสียไปในระหว่างรอกระบวนการนำ “เนื้อ” มาใช้ปรุง  ทำให้มี “แบททีเรีย” เกิดขึ้นได้สูง  ทำให้จำเป็นต้องมีการใช้  “สารเคมีสีแดง”  มาช่วยกำจัดเนื้อที่กำลังจะเน่าเสียทำให้เนื้อแดงเปลี่ยนเป็นเขียว
นอกจากนี้แฮมเบอร์เกอร์ทั้งหมดจะใส่ “สารปรุงรส” (MSG=Monosodium  Glutamate ) ทำให้ปวดศีรษะและเกิดอาการแพ้  โดย “MSG” เป็นสารเคมีที่ห้องปฏิบัติการทดลองใช้ช่วยทำให้สัตว์อ้วนขึ้นด้วย

2. ฮอทด็อก เป็นอีก “เมนูอันตราย” เพราะมีกระบวนการผลิตคล้ายแฮมเบอร์เกอร์  และ  “ฮอทด็อก” ทั้งหมดยังใส่ “สารไนไตรท์” เพื่อช่วยให้เนื้อยึดตัวและช่วยเติมไส้กรอกให้เต็มโดย “สารไนไตรท์”  เป็นสารที่ทำให้เกิด “โรคมะเร็ง” ในกระเพราะอาหาร  มะเร็งในเม็ดเลือดเนื้องอกในสมอง  และมะเร็งในกระเพราะปัสสาวะนอกจากนี้ “ถุงหลอด” ที่ใช้บรรจุฮอทด็อกก็ทำจาก “คอลลาเจนสังเคราะห์” ที่เป็นสารก่อให้เกิด “โรคมะเร็ง” ได้สูง  มีไขมันที่เป็นสารประกอบไม่เปิดเผยอยู่ประมาณ 40% เมื่อนำไปปิ้งย่างมันจะทำให้มี “สารพิษร้ายแรง”  ที่เรียกว่า “อะคริลิไมค์” (Acrylimides) ออกมาซึ่งรู้จักดีว่าเป็นสารก่อมะเร็ง

3. เฟร้นช์ฟราย – มันฝรั่งทอด เป็นอาหารที่มี “ความเป็นพิษสูง” โดยการทอด “เฟร้นช์ฟราย” ใช้อุณหภูมิสูงทำให้มี “สารอะคริลิไมด์” ออกมา  นอกจากนี้ “น้ำมัน” ที่ใช้ทอดมันฝรั่งแต่ละครั้งจะเกิดการ “ออกซิไดซ์” ในมันฝรั่งยังมี “ดรรชนีกลีซิมิค” (Glycemic) อยู่สูงมาก..นั่นหมายถึงมันเปลี่ยนให้กลายเป็นน้ำตาลภายในร่างกายได้เร็วมาก


4. คุกกี้ ที่เด่นชัดมากคือสัดส่วนของน้ำตาลมีอยู่สูงถึง 23 กรัมเลยทีเดียว  ซึ่งอาหารในประเภทที่มีน้ำตาลปริมาณสูงเช่นนี้  จะทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นเกิดริ้วรอยได้เร็วยิ่งขึ้น


5. พิซซ่า “พิซซ่า” ประกอบด้วยอาหารที่มาจากการ “ตัดแต่งพันธุกรรม”  5 ชนิดคือ…
- เนยแท้ (Cheese) เพียง 10 % เท่านั้น  ซึ่งไม่ควรเรียกว่าเนยแท้ได้เลย..
- ที่ผ่านการปรุงแต่งให้ขาวที่ได้ทำการฟอกสี  ทำให้วิตามินและเกลือแร่ออกไปแล้วแต่ได้ทำการเติมเกลือแร่สังเคราะห์ตาม จำนวนโมเลกุลที่เคยมีอยู่เข้าไปใหม่…
- ซอสมะเขือเทศ  ทำด้วยสารคล้ายมะเขือเทศที่สร้าง  “ยาฆ่าแมลง” ของมันขึ้นมาได้เองในร่างกายของท่าน…
- แป้งสาลี  ชนิดที่มีการตัดแต่งทางพันธุกรรม
- มีน้ำมันฝ้าย  ประกอบอยู่  โดยฝ้ายไม่ได้จัดเป็นพืชพวกอาหาร  มันผ่านการสเปรย์ด้วยยาฆ่าแมลงที่ชาวไร่ใช้  ในฝ่ายเมล็ดจะเป็นตัวดูดเอาสารพิษต่างๆ  เอาไว้ได้มากที่สุด
ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ  และกระทรวงสาธาธารณสุขต่างไม่ไห้ความร่วมมือซึ่งกันและกันที่จะรับรองว่ามัน ปลอดภัยต่อการบริโภคได้หรือไม่  มันไม่ได้ช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น  แต่มันเป็น “น้ำมันไฮโดรจีเนต” และมีอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ “ผิวหน้าแป้งพิซซ่า”  ที่อบปิ้งในอุณหภูมิ  อาจมี “สารอะคริลิไมค์” เกิดขึ้นด้วยขณะที่การเพิ่มหน้าพิซซ่า “เพ็พเปอโรนิ” หรือ เพิ่มหน้าไส้กรอกทำให้มีความเสี่ยงสูงจาก “ไนไตรท์” สารกันบูดและสารเคมีอื่นๆ  รวมทั้งไขมันอิ่มตัวที่มีการเติมเข้าไปจากโรงงานอีกด้วย


6. น้ำอัดลม  สารตัวสำคัญที่มีอยู่ใน “น้ำอัดลม”  คือ “กรดกำมะถัน” (Phosphoric acid) ซึ่งมีความเป็นกรดสูงมากพอที่จะละลายตะปูได้ภายใน 4 วัน  กรดที่สะสมอยู่ในร่างกายทำให้ยากที่จะทำให้น้ำหนักลดลงได้  และ “น้ำโซดา” ที่เป็นส่วนประกอบอีกตัวหนึ่งของน้ำอัดลมจะเปิดตัวซะล้างแคลเซียมออก จากกระดูก  จนทำให้เกิด “โรคกระดูกพรุน” นอกจากนี้ในน้ำอัดลม 1 กระป่องจะมี “น้ำตาลที่ไม่ให้พลังงาน” อยู่ 12 ช้อนชา  ในน้ำอัดลมที่ช่วยลดน้ำหนักตัว หรือ Dict soda ที่ใช้ “น้ำตาลเทียมสังเคราะห์” (Artificial sweetener) เพิ่มความหวานจะทำให้ร่างกายกระหายน้ำตาลมากยิ่งขึ้นเพราะน้ำตาลสังเคราะห์ เหล่านี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลธรรมดามาก  ขนาดที่ “สี” ที่ใช้เติมในน้ำอัดลมยังเป็น “สารก่อมะเร็ง” อีกด้วย


7. ชิ้นไก่ทอด – เนื้อนุ่มไร้กระดูก  เป็นเมนูที่ทำมาจากชิ้นส่วนของไก่ที่ใช้แล้ว  การรับประทานต่อครั้งโดยทั่วไปจะให้พลังงาน  340 แคลลอรี 50% เป็นไขมัน  มีแป้งขนมปังผสมอยู่มาก  ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตอยู่สูงมีการเติมสารปรุงรส “MSG” ทำให้ปวดศีรษะและเกิดอาการแพ้นอกจากนี้ “นัคเก็ตชิคเก้น” บางอันจะมี  “สารอลูมิเนียม”  ซึ่งเป็นอันตรายต่อสมองและเป็นอันตรายต่อการเผาพลาญของร่างกายด้วย


8. ไอศกรีม  มีไขมันสูงมากเกินกว่า 50% ของไขมันที่แนะนำบริโภคต่อวัน  มีคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำให้บริโภคต่อครั้งต่อวัน  มีน้ำตาลอยู่มากทำให้มีความกระหายน้ำตาลมากยิ่งขึ้น  เป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น  เต็มไปด้วยไขมันไฮโดรจีเนตและไขมันที่แปรเปลี่ยน  (Transfat) ไปจากธรรมชาติ  และยังช่วยเพิ่มพูนโคเลสเตอรอล  ทำให้สันเลือดแดงอุดตัน  ทำให้มีสารอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งทำให้เป็นสาเหตุของมะเร็ง


9. โดนัท  โดยเฉลี่ยแล้วจะให้พลังงาน 300 แคลอรี่  โดยในโดนัท 1 ชิ้นมีแป้งคาร์โบไฮเดรตอยู่มากกว่า 50 % ของที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน  มีเกลือโซเดียมสูงมาก  ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้  นอกจากนี้โดนัทยังทอดในน้ำมันที่มีอุณหภูมิที่สูง  ซึ่งน้ำมันประเภทนี้จะทำให้มีกลิ่นหืนและมีสารอนุมูลอิสระเกิดขึ้น  ทำให้เกิดสารพิษ  และทำให้ร่างกายเผาพลาญช้าลง  เป็นการคุกคามต่อสุขภาพได้  และยังเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น


10. อาหารขบเคี้ยวยามว่าง  ในปัจจุบันมีการบริโภค “โปเตโต้ซิพ”กันมาก  โดยน้ำมันที่ใช้ในการทอดโปเตโต้ซิพในแต่ละครั้งจะเกิดการออกซิไดร์ (Acrylimides) ซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งและทำลายระบบประสาทออกมา  นากจากนี้การรับประทานโปเตโต้ชิพ 1 ถุงอาจได้รับสารอะคริลิไมด์สูงมากกว่า 500 เท่า  เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราสูงสุดที่อนุญาตให้มีในน้ำดื่มทั่วไปๆได้  การรับประทานโปเตโต้ชิพ 1 ชิ้น  อาจได้รับสารอะคริไมค์เท่ากับอัตตราที่มีอยู่ในน้ำดื่ม 1 แก้ว

งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

                                   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เหล้า


งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มมากไปจะทำอันตรายต่อตับ เพิ่ม ความดันโลหิต เส้นเลือดในสมองแตก กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ทำลายสมอง และนำไปสู่มะเร็งชนิดต่างๆเช่น โรคมะเร็งของหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยจะไปกดสมอง ศูนย์ควบคุมสติสัมปชัญญะ และศูนย์หัวใจ ทำให้ขาดสติ เสียการทรงตัว สมรรถภาพการทำงานลดน้อยลง ถ้าหากงดดื่มได้ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

กินอาหารที่สะอาด

                                            

กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน ควรเลือกกินอาหารที่สด สะอาด ผลิตจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ควรเลือกอาหารจากร้านจำหน่ายอาหาร หรือแผงลอยที่ถูกสุขลักษณะ ควรปลูกผักเองหรือเลือกผักปลอดสารพิษ ควรล้างเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ในนํ้าไหลหลายครั้ง หรือแช่ผักในน้ำที่ผสมนํ้าส้มสายชู (นํ้า 5 ลิตร ต่อนํ้าส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ)

ข้าวเป็นอาหารหลัก

                                        

กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เป็นบางมื้อ อาหารในหมวดนี้ ได้แก่ ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว แป้ง และเมล็ดธัญพืช เป็นหมวดที่มีสัดส่วนการรับประทานมากที่สุด ในแต่ละวัน เพราะเป็นแหล่งที่ให้พลังงาน ปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันคือ ข้าว-แป้ง 6-11 ทัพพี ข้าวที่บริโภคควรเป็นข้าวซ้อมมือ เพราะได้วิตามิน แร่ธาตุ ตลอดจนใยอาหาร สำหรับอาหารที่ทำจากแป้ง เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน หรือขนมปัง รับประทานเป็นบางมื้อ แต่ต้องระวังถ้าบริโภคมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แป้งจะเปลี่ยนเป็นไขมันเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนได้

การรับประทานผัก-ผลไม้ที่มีประโยชน์

                                            
กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ ผักและผลไม้อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร และเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น วิตามินบี 2 และบี 6 กรดโฟลิก แมกนีเซียม ทองแดงและโพแทสเซียม โพแทสเซียมช่วยลดความดัน แคลเซียมป้องกันโรคกระดูกพรุน ธาตุเหล็กป้องกันโรคโลหิตจาง ผักที่มีเหล็กสูง เช่น ถั่วฝักยาว ใบแมงลัก ใบกะเพรา พริกหวาน คึ่นข่าย ผักกูด ผักแว่น ขมิ้นขาว ผักที่มีแคลเซียมสูง เช่น ชะพลู ใบยอ ผักคะน้า ผักกะเฉด ตำลึง ถั่วลันเตา ผักกาดเขียว ใบแมงลัก ดอกโสน ยอดแค ยอดสะเดา พริกไทยอ่อน ใบย่านาง มะเขือพวง ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศเหลือง ส้ม มะม่วงสุก มะละกอ สับปะรด จะมีวิตามินที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน หรือ วิตามินเอ ซี อี ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายและผิวพรรณโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังอาจ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคต้อกระจก โรคข้อเสื่อม เพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรค ผักสีนํ้าเงิน-ม่วง เช่น กะหลํ่าปลีสีม่วง องุ่นม่วง มะเขือม่วง มีสารไฟโตเค็มมิคอลหรือพฤกษเคมี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศแดง หัวบีท แตงโม แอปเปิ้ลแดง สตรอเบอรี่ เชอรี่ อาจช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและป้องกันเกล็ดเลือดแข็งตัว ผักผลไม้ที่มีสีขาว เช่น กระเทียมจะช่วยรักษาระดับของไขมัน

การวินิจฉัย การรักษา

แพทย์วินิจฉัยโรคอาหารเป็นพิษได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคอาหารเป็นพิษได้จาก ประวัติอาการ อาหาร/น้ำดื่มที่บริโภค คนอื่นที่กินด้วยกันมีอาการไหม การตรวจร่างกาย อาจมีการตรวจเลือด ตรวจเชื้อ หรือ สารพิษ หรือ เพาะเชื้อ จากอาหาร/น้ำดื่ม หรือจากอุจจาระ และการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

รักษาโรคอาหารเป็นพิษได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคอาหารเป็นพิษ ที่สำคัญที่สุด คือ รักษาประคับ ประคองตามอาการ ได้แก่ ป้องกันภาวะขาดน้ำและขาดสมดุลของเกลือแร่ซึ่งการรักษาโดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดเมื่อท้องเสียมาก ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน และยาลดไข้ นอกจากนั้น คือ การรักษาตามสาเหตุ เช่นพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ให้ยาต้านสารพิษถ้าเป็นชนิดมียาต้าน เป็นต้น

มีผลข้างเคียงจากโรคอาหารเป็นพิษไหม?

ผลข้างเคียงจากโรคอาหารเป็นพิษ โดยทั่วไปคือ ภาวะขาดน้ำเมื่อท้องเสียมาก (อ่อนเพลียมาก ตัวแห้ง ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย/ไม่มีปัสสาวะ ความดันโลหิตอาจต่ำ สับสน และโคม่าได้) นอกจากนั้นขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค หรือของสารพิษ เช่นกล้ามเนื้อไม่มีแรงเมื่อได้รับเชื้อแบคทีเรียกลุ่มบาดทะยัก เลือดออกตามอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะไต เมื่อเกิดจากเชื้อ อีโคไลชนิดรุนแรง หรือ ทำให้เกิดการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์เมื่อเกิดจากเชื้อ ลิสทีเรีย

โรคอาหารเป็นพิษรุนแรงไหม?

โดยทั่วไป ประมาณ 80-90% ของโรคอาหารเป็นพิษไม่รุนแรง โรคหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับชนิด และปริมาณของเชื้อโรค หรือ ของสารพิษด้วย นอกจากนั้น จะพบความรุนแรงโรคสูงขึ้นมาก และเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้สูง เมื่อโรคเกิดในคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ในเด็กเล็ก ในผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ ในผู้สูงอายุ