แพทย์วินิจฉัยโรคอาหารเป็นพิษได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคอาหารเป็นพิษได้จาก ประวัติอาการ อาหาร/น้ำดื่มที่บริโภค คนอื่นที่กินด้วยกันมีอาการไหม การตรวจร่างกาย อาจมีการตรวจเลือด ตรวจเชื้อ หรือ สารพิษ หรือ เพาะเชื้อ จากอาหาร/น้ำดื่ม หรือจากอุจจาระ และการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์
รักษาโรคอาหารเป็นพิษได้อย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคอาหารเป็นพิษ ที่สำคัญที่สุด คือ รักษาประคับ ประคองตามอาการ ได้แก่ ป้องกันภาวะขาดน้ำและขาดสมดุลของเกลือแร่ซึ่งการรักษาโดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดเมื่อท้องเสียมาก ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน และยาลดไข้ นอกจากนั้น คือ การรักษาตามสาเหตุ เช่นพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ให้ยาต้านสารพิษถ้าเป็นชนิดมียาต้าน เป็นต้น
มีผลข้างเคียงจากโรคอาหารเป็นพิษไหม?
ผลข้างเคียงจากโรคอาหารเป็นพิษ โดยทั่วไปคือ ภาวะขาดน้ำเมื่อท้องเสียมาก (อ่อนเพลียมาก ตัวแห้ง ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย/ไม่มีปัสสาวะ ความดันโลหิตอาจต่ำ สับสน และโคม่าได้) นอกจากนั้นขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค หรือของสารพิษ เช่นกล้ามเนื้อไม่มีแรงเมื่อได้รับเชื้อแบคทีเรียกลุ่มบาดทะยัก เลือดออกตามอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะไต เมื่อเกิดจากเชื้อ อีโคไลชนิดรุนแรง หรือ ทำให้เกิดการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์เมื่อเกิดจากเชื้อ ลิสทีเรีย
โรคอาหารเป็นพิษรุนแรงไหม?
โดยทั่วไป ประมาณ 80-90% ของโรคอาหารเป็นพิษไม่รุนแรง โรคหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับชนิด และปริมาณของเชื้อโรค หรือ ของสารพิษด้วย นอกจากนั้น จะพบความรุนแรงโรคสูงขึ้นมาก และเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้สูง เมื่อโรคเกิดในคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ในเด็กเล็ก ในผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ ในผู้สูงอายุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น